วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

10.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

            น้ำทิพย์ วิภาวิน ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hyper medie) คือเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
            กิดานนท์ มลิทอง (2552:ไม่ระบุ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของเสนข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะองภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
           วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
สรุปได้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ภาพถ่าย เป็นต้น เพื่อเป็นการขยายแนวความคิดที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะดังกล่าวได้

บรรณานุกรม
         http://iearners.in.th/blog/tasana/259712
         http://wongketkit.blogspot.com/2008/09/blog-post_4435.html
         http://learners.in.th/blog/chonlacla 2 /310310

9.สื่อประสม คืออะไร

          ผศ.ดร.วารินทร์ รัศมีพรหม (2531:117) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง การรวบรวมเอาวัสดุเพื่อการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยสื่อมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป มาจัดระบบไว้อย่างเกี่ยวเนื่องกันในการสอนเนื้อหาวิชาเรื่องเดียว
          http://imags.minint.multiply.multiplycontent.com ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสื่อ หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
         ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2553:115) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
         อิริคสัน (1965:11) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสมความ หมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ่ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆการใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากปรัสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ตัวตนเองมากยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กัน ทั้งนี้การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน

บรรณานุกรม
        ผศ.ดร.วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย(2531:117)
        ผศ.ดร.วาสนา ชาวหา.สื่อการเรียนการสอน(2553:14)
        http://imags.minint.multiply.multiplycontent.com/

8.สื่อการสอน คืออะไร

           เปรื่อง กุมุท (เปรื่อง กุมุท , 2519: 1) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้เป็นอย่างดี
          ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลื่อง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ(กิจกรรม ละคร เกมณ์ การทดลอง ฯลฯ)ที่ใช้เป็นสือกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือท่ายถอดความรู้ เจตคติ (ความรู้สึก ความสนใจ อารมณ์ ทัศนะคติและค่านิยม)และทักศะไปอย่างผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธภาพ
          อธิพร ศรียมก (2523:64) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไรก็ได้(ที่ไม่ใช่ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว) ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
          บราวน์ และคนอื่นๆ (1973:2) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะสิ่งที่เป็นวัตถุหรือแค่เครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสำรวจ


สรุปได้ว่า สื่อการสอน คือ สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทำการสอนของครูถึงผู้เรียน หรือเป็นอุปกรณ์ที่เสนอความรู้ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ และรวมถึงกิจกรรมต่างๆ

บรรณานุกรม
        ผศ.วาสนา ชาวหา.เทคโนโลยีทางการศึกษา(2525:15)
        ผศ.วาสนา ชาวหา.สื่อการเรียนการสอน(2533:8)
        http://imags.minint.multiply.com/

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

                 อาจารย์สหชาติ สรรพคุณ (2550 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทดังนี้ คือ
1.จะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมไปสู่สังคมสารสนเทศ
2.จะมีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงควบคู่กับยกระดับการทำงานของมนุษย์ไปสู่ระบบ high tech/high_touch
3.การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจากระดับชาติไปสู่ระดับโลก
4.การเปลี่ยนแนวคิดจากแบบรวมศูนย์ (centralization) เป็นแบบกระจายจากศูนย์ (decentralization)
5.การเปลี่ยนแนวทางประชาธิปไตย จากแบบมีผู้แทนไปเป็นแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง
6.การเปลี่ยนจากการจัดรูปองค์กรและโครงสร้างของอำนาจ จากแบบลำดับขั้น (hierarchical) ไปเป็นข่ายงาน(network)
7.การเคลื่อนย้ายกิจการทางเศษฐกิจและประชาชนจากไปสู่ใต้
8.การมีทางเลือกมากมายหลายทาง ไม่ใช่เพียงสองทางดังแต่ก่อน

               ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศินี จุฑาวิจิตร (2542 : 142-145) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทดังนี้ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ลว้นมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามสมรรถนะของอุปกรณ์ และแนวคิดในการประยุกต์ของผู้ใช้ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสำคัญโดดเด่นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตมีอยู่หลายด้านด้วยกัน กล่าวคือ
1. ปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence)
2. การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Aided Design หรือ CAD)
3. การฝึกอบรมใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Based Training หรือ CBT)
4. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data หรือ EDI)
5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System หรือ EIS)
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
7. เครื่องมือแคส (Case Tool)
8. ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (Direct to Home Television หรือ DHT)
9. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Inforaation System หรือ GIS)
10. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Super-Highway)
11. ระบบอินเตอร์เนต (Internet)
12. เทคโนโลยีสื่อหลายแบบ (Multimedia)
13. เทคโนโลยีเชิงวัตถุ (Object Orierited Technogy)
14. เทคโนโลยีริสก์ (Risc Technology)
15. หุ่นยนต์ (Robotics)
16. ระบบปรัชุมทางไกล (Video Tecleconfernce)
17. ความจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR)

           http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html#sect1 ได้กล่าวไว้ว่า บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

สรุปได้ว่า บทบาทของเทคโนโลยี คือ การเปลี่ยนแนวทางจากการจัดรูปองค์กร หรือเป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีระดับสูงและมีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบ สนองคาวมต้องการของมนุษย์ และมีการติดต่อสื่อสารกันและกันได้

บรรณานุกรม
           อาจารย์สหชาติ สรรพคุณ .เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2550

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศินี จุฑาวิจิตร.การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.หน้า 142-145.นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม,2542

            http://web.ku.ac.th/school/Shet 1/nework/it/index/indexhtml#set1

5.เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

             สมาน ชาติยานนท์ (กรมวิชาการ, 2517:173) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้และระเบียนวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
             สวัสดิพานิชย์ (กรมวิชาการ, 2517:83) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่างๆหรือมาใช้ในงานสาขาต่างๆและเมื่อนำมาใช้ แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆด้วย
             สวัสดิ์ ปุษปาคม (สวัสดิ์ ปุษปาคม,2517:1) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในงานสาขาต่างๆทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบงานในทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมากและมีประสิทธิผลสูง
            ผดุงยศ ดวงมาลา (2523:16) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางอตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยี จะหมายถึง คาวมรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิกการผลิตอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่าเทคโนโลยี คือความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
            สิปปนนท์ เกตุทัพ (ม.ป.ป.81) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆมาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามคาวมต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆมาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วฒันธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนร่วม ทางไม่สอดคล้องเทคโนโลยีนั้นๆจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในวงการต่างๆหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเพื่อมาใช้ในการผลิตและจำหน่าย ทังนี้เทคโนโลยีเบ็นความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆ

บรรณานุกรม
        ผศ.วาสนา ชาวนา .เทคโนโลยีทางการศึกษา (2525:1-2)
        http ://www.electron.rmutphysics.com/sciencenews/in dex.php?option=com_content&task=View&id=509&Itemid=4
        http://siriwadee.blogsport.com/2008/09/blog-post-27.html

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

           ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.อลิศรา ชูชาติ , รองศาตราจารย์ อมรา รอดดารา , อาจารย์ ดร.สร้อยสน สกลรักษ์ (2549:19) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความใหม่ในด้านการศึกษา อาจเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษา เป็นทฤษฎีใหม่ เทคนิคการสอนใหม่ รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ
           รศ.ดร. สาโรช โศภีร์กช์ (2546:27 ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ในวงการหรือกิจกรรมใดๆก็ตามเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือมุ่งจะใช้งานปรัสิทธิภาพสูงก็เรียอได้ว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเข้ามาใช้
           http://tikkatar.is.in.th/?md=conter&ma=show&id= (ไม่ระบุ:ไม่ระบุ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ แนวคิด วิธีการ กระบวนการ รือสิ่งปรดิษฐ์ใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร1
           http://th.answers.com/question/in dex?qid=20081126173735AAe30Vg ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ๆ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิกใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับประยุกต์ใหม่ สร้างสรรค์ และพฒันาทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธัยาศัย

สรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความใหม่ในด้านต่างๆ หรือว่าจะเป็นในแนวคิดทางการศึกษา รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ และทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาขึ้น เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบได้

บรรณานุกรม
          ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.อลิศรา ชูชาติ , รองศาตราจารย์ อมรา รอดดารา , อาจารย์ ดร.สร้อยสน สกลรักษ์ .นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติการศึกษา (2549:19)
          รศ.ดร. สาโรช โศภีร์กช์ . นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (2546:27 )
          http://tikkatar.is.in.th/?md=conter&ma=show&id=1
          http://th.answers.com/question/in dex?qid=20081126173735AAe30Vg

3.นวัตกรรม คืออะไร

           ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hoghes) (ไม่ระบุ:ไม่ระบุ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้วโดยมาเริ่มมาตั้งแต่การคดค้นInventionการพัฒนาDevelopmentซึ่งอาจเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อนPilot Projectแล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
          ไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไม่ระบุ:ไม่ระบุ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่แปลกแปลงจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆที่แปลกไปจากเดิมอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีใหม่ๆขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
           มอร์ตัน (Morton,J.A ) (ไม่ระบุ:ไม่ระบุ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal)ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์นั้นๆนวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้ไปหมด แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยุรอดของระบบ

สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆมาปฏิบัติการในทางการศึกษา หรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่แปลกไปจากเดิม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง เพื่อพฒันาจนเป็นที่เชื่อถือได้ แล้วทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

บรรณานุกรม
        ผู้ช่วยศาตราจารย์ บุญเกื้อ ควรหาเวช . นวัตกรรมการศึกษา (2542:13)
        http ; // tikatar.is.in.th/?ihd=conter&ma=show&id=1
        รองศาสตราจารย์ อมรา รอดดารา .นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฎิรูปการศึกษา.(2549:13)